About Us
ปี พ.ศ. 2512 โดยศาสนาจารย์แจ๊ค แอล มาติน ซึ่งเป็นมิชชันนารีชาวอเมริกัน ที่ได้เข้ามาประเทศไทย ดำเนินกิจกรรมการสอนคริสตจริยธรรมแก่คนไทยและในปีดังกล่าว ท่านได้เริ่มงานการสอนภาษาอังกฤษให้แก่ผู้ต้องขังในเรือนจำ โดยความร่วมมือกับกรมราชทัณฑ์ภายหลังการสอนภาษาอังกฤษภายในเรือนจำได้มีผู้ต้องขังจำนวนมาก ไม่เพียงแต่สนใจภาษาอังกฤษคนเหล่านี้ยังให้ความสนใจในคำสอนจริยธรรม เพื่อการมีชีวิตที่ดีขึ้น ต่อมามีกลุ่มผู้ต้องขังจำนวนมากหันมาสนใจเรียนรู้เพื่อการพัฒนาชีวิตโดยอาจารย์แจ๊ค มาตินได้เชิญอาจารย์หลายท่านเข้าไปช่วยสอนให้ความรู้แก่กลุ่มผู้ต้องขัง ต่อมาในปี พ.ศ. 2524 อาจารย์สุนทร สุนทรธาราวงศ์ ได้เข้ามาร่วมทีมงานกับ ศาสนาจารย์แจ๊ค มาติน โดยอาจารย์สุนทร ได้เข้ามาจัดระบบการอบรมพัฒนาชีวิตผู้ต้องขัง เพื่อมุ่งพัฒนาผู้ต้องขังในเวลานั้น ให้มีการพัฒนาชีวิตในคุณธรรมของพระเจ้าให้การสนับสนุนการศึกษา และส่งเสริมการฝึกวิชาชีพ ฯลฯในนามของพันธกิจเรือนจำคริสเตียนในประเทศไทย การดำเนินงานการอบรมพัฒนาชีวิตผู้ต้องขังได้เจริญก้าวหน้า ประกอบกับทางกรมราชทัณฑ์ได้เห็นถึงการทำงานที่ทีมงานมีความตั้งใจช่วยเหลือผู้ต้องขังจริงจังจึงได้มีการทำงานร่วมกันโดยกรมราชทัณฑ์ได้ให้ความร่วมมือสนับสนุนให้ทีมงานได้ขยายการทำงานไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย
จากการทำงานที่ผ่านมากว่า 20 ปี พันธกิจเรือนจำคริสเตียน สามารถทำงานให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ต้องขังตรงตามเป้าหมายเราได้ให้การอบรมพัฒนาชีวิตแก่ผู้ต้องขังและเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของแต่ละคนที่มีชีวิตดีขึ้นได้เห็นหลายคนเข้ามาสู่การรับการส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้การฝึกวิชาชีพตามความเหมาะสม ในช่วง พ.ศ 2546 ทีมงานพันธกิจเรือนจำ ได้รับการติดต่อ จากผู้พ้นโทษจำนวนมาก เพื่อขอความช่วยเหลือในด้านที่พักอาศัยด้านอาชีพและการลงทุน และในช่วงดังกล่าวสถิติของผู้พ้นโทษที่กระทำผิดซ้ำและกลับเข้าไปยังเรือนจำก็มีจำนวนสูงมากคณะกรรมการและทีมงาน จึงได้พิจารณาและมีความเห็นว่าเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและเป็นการช่วยเหลือนักโทษและผู้พ้นโทษให้ได้ผลจริงๆ ดังนั้น ในวันที่ 3 ตุลาคม 2546จึงได้มีการเปิดบ้านกึ่งวิถีบ้านพระพรขึ้น ณ อาคารแถวสุทธิสาร ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา มาเป็นประธานเปิดอาคาร ในปี พ.ศ. 2548 คณะกรรมการได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิขึ้น ชื่อว่า มูลนิธิพันธกิจเรือนจำคริสเตียนและต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อมูลนิธิมาเป็น มูลนิธิบ้านพระพรและมูลนิธิยังคงมุ่งดำเนินงานการช่วยเหลือทั้งผู้ต้องขังในเรือนจำ เยาวชนในสถานพินิจ รวมถึงการช่วยเหลือผู้พ้นโทษให้กลับสู่สังคม ในปี พ.ศ. 2556 มูลนิธิได้สร้างอาคารบ้านพระพรแม่และเด็ก และได้มีพิธีเปิดอาคารบ้านพระพรแม่และเด็ก โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงเสด็จมาเปิดอาคารดังกล่าว ซึ่งเป็นอาคารที่ให้ความช่วยเหลือแก่เด็กติดผู้ต้องขัง ซึ่งมูลนิธิได้อุปการะเด็กติดผู้ต้องขังที่มาจากทัณฑสถานหญิงกลาง ในโครงการกำลังใจ ในพระดำริ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2564 มูลนิธิบ้านพระพร ได้เติบใหญ่ขึ้น มีสำนักงานอยู่ ณ บ้านเลขที่ 600/199 ชุมชนบึงพระรามเก้า ถนนริมคลองลาดพร้าว แขวางบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพ 10310 และยังคงมุ่งขยายการทำงานเพื่อช่วยผู้ด้อยโอกาสมากมาย โดยการส่งทีมงานเข้าจัดกิจกรรมอบรมผู้ต้องขังในเรือนจำ และส่งหนังสือ บทเรียนและให้การปรึกษาช่วยเหลือนักโทษร่วม 200 เรือนจำทั่วประเทศ ดำเนินงานบ้านกึ่งวิถีบ้านพระพร ช่วยเหลือผู้พ้นโทษ โดยจัดโครงการสร้างอาชีพมากมาย พร้อมการจัดหางาน สนับสนุนทุนประกอบอาชีพ มูลนิธิยังได้ให้ความช่วยเหลือแก่เยาวชนจากสถานพินิจ โดยการจัดทีมเข้าอบรม รับตัวหลังปล่อยเพื่อให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องทั้งที่พักอาศัยและการศึกษานอกจากนี้ มูลนิธิยังได้ดำเนินงานด้านการให้ความช่วยเหลือและอุปการะเด็กๆลูกนักโทษลูกผู้พ้นโทษ รวมถึงเด็กที่เกิดจากแม่ในเรือนจำต่างๆอีกด้วยภาระกิจที่มูลนิธิบ้านพระพรดำเนินการอยู่ มุ่งพัฒนาชีวิต และสร้างชีวิตทุกคน ให้สามารถเติบโตอย่างมีคุณภาพ และสามารถยืนหยัดได้อย่างมั่นคงและพร้อมที่จะช่วยผู้อื่นได้ต่อไป
มูลนิธิบ้านพระพร เป็นองค์กรคริสเตียน ที่มีเจตจำนงในการดำเนินงานให้สอดคล้องตามแบบอย่างของพระเยซูคริสต์ ในด้านคุณธรรมและความรักโดยการช่วยเหลือผู้ต้องขัง ผู้พ้นโทษ เยาวชนและเด็กๆทุกคน
เพื่อให้เข้าถึงชีวิตแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น มีคุณธรรม มีความรัก รู้จักการแบ่งปัน อันเป็นชีวิตที่พระเยซูคริสต์มุ่งหวังคือ ชีวิตที่ครบบริบูรณ์มูลนิธิบ้านพระพร
มุ่งมั่นดำเนินพันธกิจด้วยแนวทางที่ผสมผสาน และครบบริบูรณ์
ขอเชิญร่วมบริจาคเพื่อสนับสนุนงานของเรา
ขอโอกาสจากท่านเพื่อร่วมกันสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่
600/199-200 ถ.ริมคลองลาดพร้าว
แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กทม 10310
097-227-7861
02-719-7277
02-716-9574